โรคนิวคาสเซิลในไก่รักษายังไง เกิดจากอะไร อาการ ยารักษาโรคนิวคาสเซิลไก่ การป้องกัน และสมุนไพรรักษาโรคนิวคาสเซิล

การทำการเกษตรในปัจจุบันนอกจากการเพาะปลูกเกษตรกรยังมีอาชีพเลี้ยงสัตว์อีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วสัตว์ที่เลี้ยงง่ายๆตามบ้านก็จะเป็นไก่ ซึ่งไก่นั้นขึ้นชื่อว่าต้องมีโปรแกรมวัคซีนที่เยอะมากสำหรับการทำปศุสัตว์ขนาดใหญ่แต่ถ้าเป็นรูปแบบการเลี้ยงแบบชาวบ้านแล้ว เกษตรกรผู้เลี้ยงจะไม่ค่อยศึกษาเท่าไหร่หากมีไก่ตายก็จะเอาไปฝัง โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดเท่าไหร่ ในบทความนี้จะมายกตัวอย่างโรคในไก่ที่ควรระวัง ชื่อว่า “โรคนิวคาสเซิล”

Table of Contents

โรคนิวคาสเซิลคืออะไร

นิวคาสเซิล Newcastle  Disease หรือ ND เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส มีการติดต่อและแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วก่อให้เกิดผลเสียหายรุนแรง พบการระบาดของโรคครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ.2469 และเมือง Newcastle -upon-Tyne ประเทศอังกฤษ

ปัจจุบันยังมีรายงานการพบโรคในประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก โรคชนิดนี้พบได้ใน

  • ไก่
  • ไก่งวง
  • เป็ด
  • สัตว์ปีกชนิดอื่นๆ

ในบางครั้งคนก็มีโอกาสติดเชื้อโรคนี้ได้ ทำให้เกิดอาการตาแดง ซึ่งมักจะไม่มีอาการรุนแรงและมีอาการเพียง 1-2 วัน เป็นโรคที่ก่อความเสียหายเป็นอย่างมากในสัตว์ปีกทั้งในไก่บ้าน ไก่สวยงาม และนกป่าต่าง ๆ ความเสียหายให้กับอวัยวะที่ติดเชื้อแต่ละชนิด มีลักษณะเฉพาะโดยทำให้มีความหลากหลายในเรื่องของอัตราการป่วย อัตราการตาย กลุ่มอาการและวิการของโรค ไก่ทุกอายุสามารถป่วยเป็นโรคนี้ได้ ลักษณะกลุ่มวิการของโรคที่พบสามารถแบ่งออกเป็น  2 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มที่แสดงอาการทางอวัยวะภายใน
  2. กลุ่มที่แสดงอาการทางระบบประสาท

โรคนิวคาสเซิลเกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดโรคนิวคาสเซิล เกิดจากเชื้อพารามิกโซไวรัส (Paramyxo virus type 1) ซึ่งแบ่งตามความรุนแรงและ กลุ่มอาการที่แสดงออกได้ 5 ชนิด คือ

  • ชนิดรุนแรงมากและแสดงอาการที่ลำไส้ เป็นชนิดที่แสดงอาการรุนแรงมาก โดยแสดงอาการมีจุดเลือดออกที่บริเวณลำไส้ให้เห็น
  • ชนิดรุนแรงมากและแสดงอาการทางระบบประสาท เป็นชนิดที่แสดงอาการทางระบบทางเดินหายใจและระบบประสาทร่วมด้วย โรคนิวคาสเซิลที่เกิด จากเชื้อสเตรนนี้จะมีอัตราการตายสูงมาก
  • ชนิดรุนแรงปานกลางแสดงอาการกับระบบทางเดินหายใจเป็นชนิดที่แสดงอาการกับระบบทางเดินหายใจอาจมีอาการทางประสาทร่วมด้วยแต่จะมีอัตราการตายต่ำ
  • ชนิดไม่รุนแรงและแสดงอาการกับระบบทางเดินหายใจ เป็นชนิดที่แสดงอาการกับระบบทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจนนัก
  • ชนิดไม่รุนแรงและแสดงอาการกับระบบทางเดินอาหาร เป็นชนิดที่เกิดกับระบบทางเดินอาหารแต่ไม่แสดงอาการให้เห็นแน่ชัดนัก โดยทั่วไป โรคนิวคาสเซิลสามารถเป็นได้กับสัตว์ปีกทุกชนิด แต่พบว่าจะไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็นชัดนักในสัตว์ปีกจำพวก เป็ดและห่าน แต่จะแสดงอาการชัดเจนและรุ่นแรงมากถ้าเกิดกับสัตว์ปีกจำพวกไก่

ถ้าพบการติดเชื้อไวรัสในไข่ฟักจะส่งผลทำให้ตัวอ่อนตาย และฟักไม่ออก เชื้อไวรัสที่ขับออกมาจากไก่ที่ป่วยสามารถอยู่ได้ในอาหาร น้ำ และสภาพแวดล้อม ซึ่งจะเป็นแหล่งของการติดเชื้อได้

เชื้อไวรัสสามารถติดต่อผ่านทางการกิน อากาศ และการสัมผัส ไม่พบการเป็นพาหะของเชื้ออย่างถาวร ปัจจัยที่สำคัญในการติดต่อของเชื้อไวรัสก่อโรคจะมาจากนกนำเข้าต่างประเทศ และไก่ชน มีอัตราการตายสามารถสูงถึง 70 – 100 เปอร์เซ็นต์

โรคนิวคาสเซิลมีอาการอย่างไร

โรคนิวคาสเซิลอาจพบอาการภายใน 48-72 ชั่วโมง สภาพวิการและอาการโดยเฉพาะไม่สามารถบอกได้ การเกิดอาการทางระบบหายใจ แต่อาการทางประสาทจะไม่ปรากฏให้เห็นชัดเจน เนื่องจากไก่มักตายอย่าง รวดเร็ว พบอาการ

  • บวมที่ศีรษะ
  • บวมที่คอ
  • จุดเลือดภายในกระเพาะจริง

เชื้อไวรัสชนิดรุนแรง มีโอกาสติดต่อกับสัตว์อื่นนอกจากไก่ได้มากกว่า ส่วนเชื้อไวรัสชนิดเป็นอย่างไม่รุนแรงซึ่งมักเป็นเฉพาะในไก่งวง

อาการของโรคนิวคาสเซิลสามารถจำแนกจากอวัยวะที่เกิดโรค

จำแนกได้ 3 ระบบ ดังนี้

  1. ทางระบบหายใจ ไก่ที่ป่วยจะแสดงอาการ
  • อ้าปากหายใจ
  • ไอ
  • จามเป็นหวัด
  • มีน้ำมูก
  • ส่งเสียงร้องดัง
  • น้ำตาไหล

อาการของโรคคล้ายคลึงกับโรคหลอดลมอักเสบแต่อาการจะรุนแรงมากกว่า

  1. ทางระบบประสาท ไก่แสดงอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ มีเปอร์เซ็นต์การตายสูงมากในช่วง 2 – 3 วันแรก เป็นอาการที่เกิดตามมาหลังจากแสดงอาการทางระบบหายใจ ไก่ที่ป่วยจะมีอาการ
  • คอบิด
  • ชอบยืนเอาหัวซุกใต้ปีก
  • เดินเป็นวงกลม
  • เดินถอยหลัง และกระตุก
  • มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • อัมพฤกษ์ และอัมพาตของขา

อาการกลุ่มนี้พบบ่อย อาจจะเกิดควบคู่กับอาการทางระบบทางเดินหายใจ ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา จะเป็นการอักเสบแบบไม่มีหนอง พบลิมโฟไซต์แทรกอยู่ในเซลล์ของสมอง

  1. ทางเดินอาหาร ไก่ที่ป่วยจะแสดงอาการ
  • ถ่ายมูลเหลวสีค่อนข้างเขียวหรือเหลือง

การจำแนกโรคตามความรุนแรงของเชื้อ

สามารถ จำแนกได้ 3 ประเภท คือ

  1. สเตรนอ่อน (Lentogenic)
  2. สเตรนแรงปานกลาง (Mesogenic)
  3. สเตรนแรง (Velogenic)

ลักษณะของเชื้อไวรัสชนิดอ่อน

  1. ในไก่เล็ก
  • อาการคล้ายคลึงกับโรคหลอดลมอักเสบ คือติดต่อกันรวดเร็ว มีเปอร์เซ็นต์การเสียหายสูง
  • อาการทางระบบหายใจเป็นอย่างรุนแรง ระยะพักเชื้อประมาณ 9-15 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 5-6 วัน
  • เปอร์เซ็นต์การตายจากน้อยมากจนถึงเกือบ 100% และเป็นประมาณ 10-14 วัน เปอร์เซ็นต์การตายจะสูงประมาณ 9–2 วันแรก
  • หลังจากอาการทางระบบหายใจเริ่มดีขึ้น อาการทางระบบประสาทอาจจะไม่พบก็ได้ แต่ถ้าพบจะพบอาการ
  • คอบิด
  • อัมมะพาต
  • เดินเป็นวงกลม
  • หัวไก่มักมุดอยู่ใต้หน้าอก

ไก่ที่แสดงอาการเหล่านี้ถ้า พบควรทําลายเสีย และถ้าหากมีเชื้อมัยโคพลาสม่าแกลลิเซพที่คุม อยู่ในฝูงไก่ เมื่อเกิดระบาดของโรคนิวคาสเซิลจะพบว่าโรค ซี.อาร์.ดี. จะเป็นโรค แทรกซ้อนได้

  1. ในไก่ใหญ่
  • เหมือนกับไก่เล็ก มีอาการทางระบบหายใจ เปอร์เซ็นต์ การตายน้อย อาการทางระบบประสาทจะพบน้อยหรือไม่พบเลย
  • เปอร์เซ็นต์ไข่ตกคล้ายคลึงกับโรคหลอดลมอักเสบ

โรคที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคนิวคาสเซิล

โรคทั้งหมดนี้จะแสดงอาการทางระบบหายใจและทางระบบประสาท ส่วนโรคนิวคาสเซิลเท่านั้นที่จะแสดงอาการทางระบบหายใจแล้วตามด้วยอาการทางระบบประสาท

  1. โรค ซี.อาร์.ดี.
  2. สมองอักเสบ
  3. โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ
  4. โรคสมองและไขสันหลังอักเสบ
  5. โรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อ
  6. เอนเซฟาโลมาลาเซีย (โรคขาดไวตามิน อี)
  7. อินฟลูเอนซ่า -10

โรคนิวคาสเซิลติดต่อได้อย่างไร

การติดต่อทางอากาศ

  • ติดต่อในระยะใกล้ เช่น จากโรงเรือนหนึ่งไปยังอีกโรงเรือนหนึ่ง แต่ไม่สามารถติดต่อกับฟาร์มที่อยู่ห่างออกไปในระยะไกล ๆ ส่วนการติดต่อในเล้าผสมพันธุ์จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยไวรัสจะออกมาในอากาศขณะที่ไก่จาม

 การติดต่อโดยมีพาหะนําพา

  • ผู้มาเยี่ยมฟาร์ม พนักงานภายในฟาร์ม บุคคลภายนอก เป็นผู้นําเชื้อเข้ามาในโรงเรือน โรคนิวคาสเซิลไม่สามารถติดต่อผ่านมาทางไข่ฟักเนื่องจาก เชื้อไวรัสในไข่สามารถฆ่าลูกไก่ในระยะคัพภะได้

การติดต่อจากการเคลื่อนย้ายนําส่งไก่มีชีวิตและการส่งไก่ออกนอกประเทศ

  • เป็นวิธีการนําโรคไปกระจายยังแหล่งเลี้ยงใหม่อีกเป็นวิธีหนึ่งที่มีความสําคัญมากที่ทำให้โรคนั้นแพร่กระจายไปยังที่อื่นอย่างรวดเร็ว

การติดต่อโดยวิธีอื่น ๆ

  • สัตว์เป็นพาหะ คือ สุนัข หรือสัตว์กินเนื้อ นําเชื้อจากไก่ตายเนื่องจาก เชื้อไวรัสนิวคาสเซิลสามารถอยู่นอกร่างกายไก่ได้เป็นอย่างดีหลังการระบาดของโรค

โรคนิวคาสเซิลในไก่รักษายังไง

โรคนิวคาสเซิลนี้ไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผล เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสนอกจากจะใช้ยาปฏิชีวนะผสม น้ำให้ไก่กินทั้งฝูง เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนเท่านั้น ไม่มียารักษาโดยตรง อาจให้วิตามินและสารอิเลคโตรไลท์ ละลายน้ำให้ไก่กิน ไก่จะฟื้นโรคได้เร็วขึ้น และให้ยาปฎิชีวนะพวกซัลฟาละลายน้ำให้กินเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย

ยารักษาโรคนิวคาสเซิลไก่

เนื่องจากไม่มียารักษาโรคนี้แต่เราจะแนะนำยาที่รักษาอาการเบื้องต้นของโรคนิวคาสเซิลให้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยง เพื่อมีผู้สนใจ

ชื่อทางการค้า  >>> TKO

สรรพคุณ >>> รักษาโรคอาการเริ่มแรก โรคนิวคาสเซิล โรคห่า คอบิด นอนลุกไม่ขึ้น ขี้เขียว ขี้ขาว หวัดหน้าบวม หน้าซีด ไก่ไม่กินข้าว คอดัง ป่วยเรื้อรัง และใช้ฉีดอาการบาดเจ็บ หลังปล้ำชนมา แผลบวมยุบ ไก่ฟื้นตัวเร็วมาก

ขนาดและวิธีการใช้ >>> ฉีดก่อนนอนทุกวันหรือฉีดห่างกันทุก 24 ชั่วโมง ติดต่อกัน 3-5 วัน

  • ไก่อายุ 5 – 3 เดือน ฉีด 0.3 ซีซี
  • ไก่อายุ 3 – 5 เดือน ฉีด 5 ซีซี
  • ไก่อายุ 5 เดือนขึ้นไป ฉีด 1 ซีซี

กรณี ไก่อาการดีขึ้นเป็นปกติ ให้หยุดฉีดทันที หมายเหตุ หลังใช้เสร็จให้เก็บในอุณหภูมิปกติ (ห้ามโดนแสงแดด)

 

การป้องกันโรคนิวคาสเซิลในไก่

เกษตรกรผู้เลี้ยงสามารถป้องกันโรคนิวคาสเซิลได้ด้วยวิธิง่ายๆ ดังนี้

  1. ดูแลสุขาภิบาลในโรงเรือน
  2. กําจัดพื้นรองนอน
  3. ทำความสะอาดด้วยเครื่องทำความสะอาดที่มีกําลังสูง
  4. ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อฉีดพ่นโรงเรือน
  5. ควบคุมสัตว์พาหะนำโรค
  6. เข้มงวดการเคลื่อนย้ายไก่
  7. ให้วัคซีนตามกำหนด

การควบคุมโรคนิวคาสเซิล

  • โดยการทําวัคซีน ต้องมีโปรแกรมการทําวัคซีนที่แน่นอน

การทำวัคซีนนิวคาสเซิลในไก่

การใช้วัคซีนของกรมปศุสัตว์
มี 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. วัคซีนนิวคาสเซิลเชื้อตาย

ขนาดและวิธีการใช้

  • ฉีดในไก่ไข่และไก่พันธุ์ที่อายุ 18 – 22 สัปดาห์
  • ก่อนใช้วัคซีนควรนำขวดวัคซีนออกจากตู้เย็น เพื่อให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงอุณหภูมิภายนอกก่อนถึงจะทำให้ฉีดง่ายขึ้น
  • เขย่าขวดให้วัคซีนเข้ากันดีก่อนใช้และขณะใช้
  • ควรใช้เข็มที่มีขนาดพอเหมาะสำหรับการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ เช่น เข็มเบอร์ 20 ยาว 1/2 นิ้ว
  • ควรใช้วัคซีนให้หมดภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากเปิดใช้แล้ว
  • ขนาดฉีด ตัวละ 5 มิลลิลิตร เข้ากล้ามเนื้ออกหรือใต้ผิวหนังบริเวณ

ความคุ้มโรค

  • ไก่จะมีความคุ้มโรคเกิดขึ้นภายหลังได้รับวัคซีนซึ่งสามารถตรวจพบในวันที่ 28 และไก่จะมีภูมิคุ้มโรคตลอดอายุ

ข้อควรระวัง

  • ฉีดให้ไก่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์
  • บริเวณที่ฉีดอาจมีการอักเสบ ซึ่งจะยุบหายใน 1 สัปดาห์
  • ห้ามใช้วัคซีนก่อนปลดไก่ 6 สัปดาห์
  1. วัคซีนนิวคาสเซิลเชื้อเป็น
  • ไก่กระทง ให้ครั้งแรกอายุ 7-10 วัน และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 3-4 สัปดาห์
  • ไก่ไข่หรือไก่พันธุ์ สองครั้งแรกเหมือนไก่กระทง ครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6-8 สัปดาห์ และซ้ำทุก 2 เดือน

ขนาดและวิธีการใช้

  • วิธีหยอดตาหรือจมูก การหยอดตา ให้ใช้นิ้วดึงหนังตาล่างลง แล้วหยดวัคซีนที่ตาไก่ ส่วนการหยอดจมูก ให้ใช้นิ้วมือปิดรูจมูกข้างหนึ่งแล้วหยดวัคซีนที่รูจมูกอีกข้างหนึ่ง เมื่อไก่สูดน้ำวัคซีนแล้วจึงปล่อยนิ้ว
  • การละลายน้ำให้ดื่ม ใช้กับไก่อายุ 1 สัปดาห์ขึ้นไป น้ำที่ใช้ละลายวัคซีนต้องสะอาดปราศจากคลอรีนหรือยาฆ่าเชื้อทุกชนิด
  • ไก่อายุ 1-2 สัปดาห์ ละลายวัคซีน 1 ขวด ด้วยน้ำ 10 ลิตร สำหรับไก่ 1000 ตัว
  • ไก่อายุ 5-6 สัปดาห์ ละลายวัคซีน 1 ขวด ด้วยน้ำ 20 ลิตร สำหรับไก่ 1000 ตัว
  • ไก่อายุ 4-5 เดือน ละลายวัคซีน 1 ขวด ด้วยน้ำ 40 ลิตร สำหรับไก่ 1000 ตัว
  • ก่อนใช้วัคซีนต้องงดให้น้ำไก่ 2 ชั่วโมง และควรให้ไก่ดื่มน้ำวัคซีนนี้ภายใน 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ควรหยุดการให้ยาชนิดอื่น 2-4 วันก่อนให้วัคซีน

ความคุ้มโรค

  • ไก่จะมีภูมิคุ้มโรคภายหลังได้รับวัคซีน 8 วัน และมีความคุ้มโรคอยู่ได้นานประมาณ 3 เดือน

การเก็บรักษา

  • เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 2 – 8 องศาเซลเซียส

ข้อควรระวัง

  • ห้ามวัคซีนถูกแสงแดด
  • ห้ามใช้สารเคมีฆ่าเชื้อที่กระบอกฉีดยาและเข็ม
  • วัคซีนที่ละลายแล้วต้องแช่เย็นตลอดเวลา และใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง
  • หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ขวดบรรจุวัคซีนให้เปิดจุกออกก่อน แล้วเผาหรือต้มฆ่าเชื้อ ก่อนนำไปทิ้ง
  • อย่าให้วัคซีนเข้าตาของคน

สมุนไพรรักษาโรคนิวคาสเซิล

สิ่งสำคัญสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ต้องรู้ก็คือเรื่องโรคของไก่ เช่น นิวคาสเซิล ฝีดาษ หลอดลมอักเสบ โรคอหิวาต์ โดยเกษตรบางรายได้ได้ศึกษาหาความรู้ในการป้องกันโดยการฉีดวัคซีน แต่ในบางรายนั้นก็เลี้ยงแบบปล่อยหากินเองตามธรรมชาติ จึงทำให้ไม่ทราบในเรื่องของโรคและวัคซีนเท่าไหร่

โรคนิวคาสเซิลเป็นโรคระบาดเกือบทุกประเทศทั่วโลก มีอัตราการป่วยและอัตราการตายสูง เพราะว่าทำให้ไก่ตายเป็นจำนวนมากและรวดเร็ว เป็นโรคติดต่อร้ายแรงพบได้ในไก่ เป็ด ห่าน ไก่งวง สัตว์ปีกอื่นๆ รวมทั้งนกหลายชนิด ทุกๆ ระดับอายุ ระบาดได้ทุกฤดูกาล มีการระบาดรุนแรงมากที่สุด หรือช่วงเปลี่ยนฤดูกาล อาการที่พบในไก่ป่วยและตายกระทันหันโดยไม่แสดงอาการให้เห็น หรืออาจพบไก่ไอ มีน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระมีสีเหลือง สีเขียว ไก่เป็นอัมพาต และตายในที่สุด ทั้งนี้จึงมีภูมิปัญยาชาวบ้านที่นำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆในไก่เบื้องต้น เรามาดูสูตรและวิธีการทำกันเลย

วัสดุอุปกรณ์ และส่วนประกอบที่ใช้

  • บอระเพ็ด จำนวน 4 ขีด
  • ตะไคร้ จำนวน 4 หัว
  • มะกรูด จำนวน 2 ลูก
  • น้ำ จำนวน 10 ลิตร

ขั้นตอนการทำ

  1. นำบอระเพ็ด ตะไคร้ มาทุบพอแหลก
  2. จากนั้นหั่นมะกรูดเป็นซีกๆ
  3. นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  4. จากนั้นนำไปผสมน้ำให้ไก่กินเป็นประจำทุกวัน