วิธีเลี้ยงลูกแพะแรกเกิด อาหารลูกแพะแรกเกิด ขาอ่อนแรง ลูกแพะป่วย ทำยังไงวิธีดูแลลูกแพะ

ปัจจุบันอาชีพการเลี้ยงแพะก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรหลายๆท่านได้เลือกใช้ประกอบอาชีพ การเลี้ยงแพะนั้นจะมีระยะเวลาสั้นกว่าการเลี้ยงวัว โดยแพะเป็นสัตว์ที่หากินเองเก่งมาก ทนต่อทุกสภาพอากาศได้ดี ผลผลิตที่ได้เช่น นม เนื้อ หนัง หรือขน การเลี้ยงง่ายมากเนื่องจากเป็นสัตว์ตัวเล็ก ดูแลจัดการง่าย ใช้พื้นที่ไม่เยอะ ในบทความนี้เราจะนำความรู้ด้านการเลี้ยงลูกแพะมาให้ท่านเกษตรกรมือใหม่ได้ศึกษาไปพร้อมๆกันเลยจ้า

วิธีเลี้ยงลูกแพะแรกเกิด

การเลี้ยงแพะเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากที่เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะจะต้องทราบและดูแลเอาใจใส่อย่างยิ่ง สิ่งที่ผู้เลี้ยงต้องทราบรายละเอียดอย่างมากก็คือวิธีการเลี้ยงลูกแพะเกิดใหม่ที่เป็นผลผลิตของทางฟาร์มเพราะถ้าหากขาดการดูแลเอาใจใส่ก็จะทำให้เสียผลผลิตนี้ได้ดังนั้นเราจะมาศึกษาวิธีและขั้นตอนไปพร้อมๆกัน

เมื่อลูกแพะเกิดมาต้องทำอย่างไร

  • เช็ดหน้า จมูก เอาเมือกออก บางตัวมีน้ำคร่ำเข้าลำคอ จำเป็นต้องใช้ไซริ้งค์ หรือ ลูกยางดูดออก ป้องกันสำลักคอหายใจไม่ออกตายได้
  • ส่วนลำตัวใช้มือลูบออกก็พอ(ควรใส่ถุงมือ) ที่เหลือปล่อยให้แม่เลีย เพื่อสร้างความรู้จักกันระหว่างแม่ลูก
  • ตัดสะดือลูก ให้ยาวเหลือ 1-2 ข้อนิ้วมือ
  • จุ่มสะดือด้วยทิงเจอร์หรือเบตาดีน ป้องกันการติดเชื้อทางสะดือ โดยเฉพาะเชื้อ บาดทะยัก
  • จับลูกให้กินนมแม่ ซึ่งเป็นนมเหลือง ให้กินภายใน 12 ชั่วโมงแรก ดีที่สุด ไม่เกิน 24 ซั่วโมง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก
  • หลังจากได้รับน้ำนมเหลืองแล้ว 3 สัปดาห์ ให้กินอย่างน้อย 10% ของน้ำหนักตัว ตัวอย่างเช่นลูกแพะ น้ำหนัก 3 กก. กินนมเหลือง 300 ซีซี
  • เฝ้าดูลูกแพะว่าสามารถยืนดูดนมแม่ได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ต้องช่วยจับป้อนจนกว่าลูกจะแข็งแรงและยืนดูดนมได้ปกติ
  • หลังคลอดครบ 24 ชม. ให้ทยอยฉีด วิตามิน-แร่ธาตุให้ลูกแพะ อย่างละ 1 ซีซี
  1. เมื่อครบ 24 ชั่วโมงให้ >>> ฉีดธาตุเหล็ก
  2. วันที่ 2-3 หลังคลอดให้ >>> ฉีด AD³E
  3. วันที่ 5-7 หลังคลอดให้ >>> ฉีด วิตามินบีรวม

การเลี้ยงดูลูกแพะควรทำอย่างไร

  • ควรให้ลูกแพะกินนมน้ำเหลืองของแม่แพะและปล่อยให้ลูกแพะได้อยู่กับแม่แพะ 3-5 วัน ลูกแพะเมื่อได้รับน้ำนมเหลืองจากแม่ภายใน 12-24 ชม. หลังคลอด จะใช้เวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกแพะ 3 สัปดาห์ ในระหว่าง 3 สัปดาห์การดูแลไม่ให้ลูกแพะป่วย หรือเกิดความอ่อนแอ
  • ถ้าต้องการรีดนมแพะก็ให้แยกแม่แพะออก ระยะนี้เลี้ยงลูกแพะด้วยหางนมละลายน้ำในอัตราส่วนหางนม 1 ส่วนต่อน้ำ 8 ส่วน
  • โดยทั่วไป มักไม่ได้แยกลูกแพะออกจากแม่ตั้งแต่เล็ก ส่วนใหญ่จะปล่อยลูก แพะให้อยู่กับแม่แพะจนมันโต
  • ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แม่แพะมักไม่สมบูรณ์และผสมพันธุ์ได้ช้าเพราะแม่แพะ ไม่ค่อยเป็นสัด
  • ดังนั้นทางที่ดีหากเกษตรกรยังให้ลูกแพะอยู่กับแม่แพะตั้งแต่เล็กๆ ก็ควรแยกลูกแพะออก จากแม่แพะเมื่อลูกแพะมีอายุได้ประมาณ 3 เดือน
  • ลูกแพะที่มีอายุ 3 เดือน เราสามารถทำการคัดเลือกไว้ เป็นพ่อ-แม่พันธุ์แพะตัวผู้ที่ไม่ต้องการผสมพันธุ์ก็ทำการตอนในระยะนี้
  • หากไม่ต้องการให้แพะมีเขาก็อาจ กำจัดโดยจี้เขาด้วยเหล็กร้อนหรือสารเคมีก็ได้
  • ระยะนี้ควรดูแลเรื่องความสะอาดทั้งอาหารและพื้นคอก ป้องกันลูกขี้ไหล ควรให้ลูกหัดกินหญ้า หรืออาหารเสริมตั้งแต่อายุ 3-4 สัปดาห์
  • การเลี้ยงลูกแพะโดยการปล่อยไว้กับแม่จนหย่านม และการจัดการเลี้ยงแพะรุ่น ภายหลังหย่านม ลูกตัวเมียควรแยกเลี้ยงออกจากตัวผู้ เพื่อป้องกันการผสมกันเอง
  • เนื่องจากแพะ เป็นสัดเร็วในช่วง 4-6 เดือน หากปล่อยให้ผสมกันเองตั้งแต่เล็กจะทำให้เป็นการผสมเลือดชิดได้
  • ควรทำการถ่ายพยาธิตัวกลม ตัวตืดและพยาธิใบไม้ในตับ ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและวัคซีน ป้องกันโรคเฮโมเรยิกเซพติกซีเมีย
  • การถ่ายพยาธิและฉีดวัคซีนจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แพะมีสุขภาพที่ดีและสามารถใช้ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 8 เดือน
  • แม่แพะที่คลอดลูกแล้วประมาณ 3 เดือน เมื่อเป็นสัดก็สามารถเอาพ่อพันธุ์แพะมาทำการผสมพันธุ์ได้อีก
  • หากแม่แพะใช้รีดนมผู้เลี้ยงก็รีดนมแม่แพะได้จนถึง 6-8 สัปดาห์ก่อนคลอดจึงหยุดทำการรีดนม
  • ต้องมีการจัดการฟาร์มที่ดี เช่น การป้องกันไม่ให้ ไร เห็บ หมัด เข้ามาในตัวลูกแพะ จัดสถานที่แห้ง อบอุ่น

การเสริม แร่ธาตุ-วิตามินต่างๆ

มีความจำเป็น โดยการฉีดเสริมวิตามิน-แร่ธาตุหลังคลอด เมื่อลูกแพะครบ 24 ชม. เป็นต้นไป ให้มีการทยอยฉีดแร่ธาตุ-วิตามินเสริม

ธาตุเหล็ก

  • ช่วยสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย ทำให้เจ็บป่วยยากขึ้น

วิตามิน AD³E

  • วิตามิน A
  • สร้างการมองเห็นดีขึ้น
  • สร้างภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อในระบบหายใจ
  • ช่วยให้ระบบคุ้มกันทำงานดีขึ้น
  • ลดระยะเวลาการเจ็บป่วยของโรค
  • ช่วยให้เนื้อเยื่อชั้นนอกของอวัยวะ มีสุขภาพดี
  • วิตามิน
  • ลดอาการเมื่อยล้า และการอักเสบของกล้ามเนื้อ
  • เพิ่มความแข็งแรง และทนทานของกล้ามเนื้อ
  • สามารถรับแรงกระแทกได้ดีขึ้น
  • วิตามิน E
  • บรรเทาอาการอ่อนเพลีย
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการสู้โรคให้กับเม็ดเลือดขาว
  • ช่วยป้องกันภาวะแท้ง(แม่พันธุ์ตั้งท้อง)
  • ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • หัวใจเลือดขาด

วิตามินบีต่างๆ

  • บี1 (Thiamine)
  • แก้กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากอาการเหน็บชา (หลอดเลือดตีบขาดเลือด)
  • เสริมสร้างการเจริญเติบโต
  • ช่วยย่อยอาหารแป้งได้ดี
  • บำรุงประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจ ให้ทำงานปกติ
  • บี12 (โคบาลามิน)
  • ป้องกันเยื่อไมอีลิน (Myelin) ที่ห่อหุ้มเส้นประสาท ช่วยให้ระดับการทำงานของเซลล์ประสาทและระบบประสาทเป็นไปได้อย่างปกติ
  • ช่วยกระตุ้นการทำงานของแบคทีเรียชนิดดีในกระเพาะอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น และช่วยกำจัดแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในกระเพาะอาหาร
  • ช่วยบำรุงประสาท ทำให้ระบบประสาทแข็งแรงขึ้น
  • ช่วยบรรเทาอาการหงุดหงิด ลความเครียด
  • ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ทำให้ร่างกายสามารถใช้ไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม

อาหารลูกแพะแรกเกิด

การให้อาหารลูกแพะ

  • ลูกแพะตั้งแต่แรกเกิดจนถึงหย่านมสามารถเลี้ยงโดยให้ดูดนมแม่โดยตรงรีดให้กิน หรือเลี้ยงด้วยนมเทียม
  • แต่จะโดยวิธีใดก็ตามลูกแพะต้องได้รับนมน้ำเหลืองจากแม่นานประมาณ  3-4  วัน
  • ในกรณีที่นมแพะขายได้ราคาดีผู้เลี้ยงก็ควรจะให้ลูกแพะกินนมเทียมแทนการเลี้ยงแพะโดยนมเทียมอาจใช้วิธีให้ดูดจากขวดหรือใส่ภาชนะให้เลียกิน
  • การฝึกหัดควรทำตั้งแต่แรกเกิดใหม่ๆ  ก่อนที่ลูกแพะจะดูดนมจากเต้าแม่เป็น
  • แยกลูกจากแม่ทันทีที่คลอดแล้วรีดนมน้ำเหลืองจากแม่ใส่ขวดแล้วป้อนลูกแพะ  ทำเช่นนี้  3-4  วัน  จึงเริ่มเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมเทียมต่อไป

การเลี้ยงลูกแพะด้วยนมเทียม

มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. อุ่นนมที่ละลายน้ำแล้ว ให้มีอุณหภูมิ  40  องศาเซลเซียส  ก่อนให้ลูกแพะกินทุกครั้ง
  2. ล้างขวด หัวจุกนม  และจานใส่นมให้สะอาด  หลังจากลูกแพะกินนมแล้วทุกครั้งไป
  3. ให้ลูกแพะกินนมเทียม  ประมาณวันละ  7-0.9  ลิตร  โดยแบ่งให้เป็น  3-5 ครั้ง  ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งอายุ  2  สัปดาห์
  4. เริ่มให้อาหารลูกอ่อน (Calf  Starter)  เมื่อลูกแพะอายุได้  3-4  สัปดาห์  แล้วค่อยๆ  เพิ่มปริมาณอาหารข้น  ตามที่ลูกแพะกินแล้วท้องไม่เสีย
  5. ควรให้ลูกแพะหย่านมเมื่ออายุ 3  เดือน  (Weaning  age)  หรือหย่านมเมื่อลูกแพะสามารถกินหญ้าแห้งและอาหารข้นได้มากแล้ว

การให้น้ำนมขวดกับลูกแพะ

อายุลูกแพะ จำนวนมื้อต่อวัน ปริมาณที่ให้ต่อมื้อ (มล.) ปริมาณน้ำนม ต่อวัน(มล.) หมายเหตุ
1 วัน 4 50 200
2 วัน 4 75 300
4 วัน 4 100 400
4 – 7 วัน 4 150 600
สัปดาห์ที่2 4 200 800
สัปดาห์ที่3 3 250 750 เริ่มหัดให้กินอาหารข้น
สัปดาห์ที่4 3 250 750 เริ่มหัดให้กินหญ้าสด
สัปดาห์ที่5 2 200 400 เพิ่มปริมาณอาหารข้นและหญ้าสดขึ้น เรื่อย ๆ เท่าที่ลูกแพะจะกินได้
สัปดาห์ที่6 2 150 300

 

ขาอ่อนแรงทำยังไง

ส่วนใหญ่แล้วอาการขาอ่อนแรงในลูกแพะ อาจจะเกิดจากการเกิดมาตัวเล็กอ่อนแอ กินนมน้ำเหลืองเองไม่ได้ หรือได้กินไม่เต็มที่ นมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจึงทำให้ร่างกายดึงเอาไขมันสะสมแรกคลอดมาใช้ทำให้ร่างกายของลูกแพะอ่อนแอลง การรักษาเบื้องต้น ส่วนใหญ่แล้ว จะต้องมีการฉีดธาตุเหล็กให้กับ ลูกแพะและ ต้องจับลูกแพะเพื่อให้ได้รับนมน้ำเหลืองและนมที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกแพะ

ลูกแพะป่วย ทำยังไง

ในกรณีที่ผู้เลี้ยงพบว่ามีลูกแพะแรกเกิดป่วย จะต้องทำดังนี้

  1. แยกลูกแพะออกมาจากฝูง
  2. ทำการกก ไฟให้เพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายอบอุ่น
  3. ทำการรีดนมน้ำเหลืองจากแม่มาป้อนให้ลูกแพะกิน
  4. จับลูกแพะยืนกินนมในท่าปกติเป็นระยะๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ทำงาน
  5. ทำการป้อนนมลูกแพะ ทุกๆ 2 ชั่วโมง เป็นประจำจนกว่าลูกแพะจะลุกขึ้นยืนกระโดเล่นได้จึงจะปลอดภัย

วิธีดูแลลูกแพะ

การตายของลูกแพะแรกคลอด เป็นปัญหาน่าปวดหัวที่จะทำให้ผู้เลี้ยงแพะเกิดความเสียหาย การแก้ไขปัญหานี้จะต้องมีความเข้าใจของความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่ต้องเกิดขึ้นอย่างสอดคล้องกันเป็นอย่างดี ตั้งแต่เลี้ยงแม่ตั้งท้อง ไปจนกระทั่งหย่านมที่ผู้เลี้ยงจะต้องทำความเข้าใจ

พฤติกรรมแม่

  • เป็นกริยาอาการที่แม่แสดงออกในการเตรียมรับลูกที่จะเกิด และดูแลคุ้มครองลูกเกิดใหม่จนถึงหย่านม
  • มีแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมแม่ ถูกควบคุมโดยเหตุการณ์ทางสรีระที่เกิดขึ้นในการคลอด
  • มีการหลั่งฮอร์โมน oestradiol จากรก มีการกระตุ้นคอมดลูก-ปากช่องคลอดในการคลอด ระดับฮอร์โมนจะสูงสุดในช่วง 24 ชม. ก่อนคลอด
  • ต่อเมื่อมีการขับตัวลูกออกมา จะทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมน oxytocin ของสมอง ทำให้เกิดแรงผลักดันนี้ 3-4 ชม.ก่อนคลอด และสูงสุดเมื่อคลอด
  • มีการรักษาระดับแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมแม่ เมื่อแรงผลักดันดังกล่าวหนุนเสริมให้เกิดการสัมผัสแรกระหว่างแม่ลูก
  • เกิดการเลียน้ำคร่ำ และทำให้เกิดการยอมรับลูก การที่แม่จะมีโอกาสแสดงการปฏิสัมพันธ์กับลูกเกิดใหม่มีความสำคัญมาก หากแม่ลูกไม่ได้สัมผัสกันเมื่อแรกคลอดจะทำให้แรงผลักดันนี้จะหายไปอย่างรวดเร็ว ภายใน 24 ชั่วโมง แรกหลังคลอด
  • แม่แพะส่วนใหญ่จะไม่เลี้ยงลูก แต่หากทดลองแยกแม่ลูกออกจากกันหลัง 24 ชม.แรก ส่วนใหญ่แล้วแม่แพะจะยอมรับเลี้ยงลูกต่อไปได้
  • ช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นช่วงที่อ่อนไหว (sensitive period) ซึ่งจะทำให้พฤติกรรมแม่ลูกมีความแน่นแฟ้น การสัมผัสใกล้ชิดจึงมีความสำคัญมากที่จะรักษาพฤติกรรมแม่ไปจนกว่าจะหย่านม

การปรับตัวทางสรีระของแม่และลูก

  • ในการคลอด ลูกเกิดใหม่ต้องสูญเสียความร้อนจากการเปลี่ยนสภาพจากที่อยู่ในมดลูกแม่มาสู่โลกภายนอก ภายใน 15 นาทีแรก อุณหภูมิร่างกายลูกจะลดลง 1-2 องศา
  • ลูกเกิดใหม่จึงต้องเพิ่มการสร้างความร้อนถึง 15 เท่า ยิ่งอุณหภูมิเย็นลงจะยิ่งมีผลกระทบมาก ด้วยสาเหตุประกอบ เช่น ลมพัด ความชื้น การระเหยของน้ำคร่ำบนผิวหนังลูก
  • ลูกแพะจะเผาผลาญไขมันและเพิ่มการหดตัวของกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มการสร้างความร้อน แม่แพะที่ขาดอาหารจะให้ลูกที่มีไขมันสะสมน้อยทำให้โอกาสรอดน้อยลง
  • ปริมาณพลังงานสำรองจึงเป็นวิกฤตแรกสำหรับการมีชีวิตรอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวย ลูกแพะเล็กเสี่ยงต่อการเกิดอุณหภูมิลดต่ำได้ง่ายกว่าลูกแพะใหญ่
  • เนื่องจากมีอัตราพื้นผิวต่อปริมาตรสูงกว่า และมีอัตราการสูญเสียความร้อนต่อหน่วยน้ำหนักที่สูงกว่า

นมน้ำเหลือง

  • นมน้ำเหลืองเป็นน้ำนมแรกของแม่ซึ่งถูกสร้างขึ้นไม่นานก่อนคลอด มีสารอาหารที่เข้มข้นพร้อมด้วยโปรตีนภูมิคุ้มกันโรค เอนไซม์ ฮอร์โมน
  • สารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งอาหารเพียงหนึ่งเดียวของลูกเกิดใหม่นอกเหนือจากพลังงานสำรองในตัว
  • นมน้ำเหลืองมีสารอาหารโดยประมาณดังนี้ ไขมัน 7%, casein 4%, lactose 5%, น้ำ 82% และให้พลังงาน 2Kcal ต่อน้ำนม 1 ซีซี
  • ประมาณความต้องการของลูกแพะใน 18 ชม.แรก อยู่ที่ 180-290 ซีซี. ต่อน้ำหนักตัวลูก 1 กก. เนื่องจาก โปรตีนภูมิคุ้มกันโรคไม่สามารถผ่านทางรกแม่ลูกได้
  • ลูกจึงต้องรับจากการกินนมน้ำเหลืองเท่านั้น เมื่อได้กินนมน้ำเหลืองระดับภูมิคุ้มกันโรคในตัวลูกจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วใน ชม.แรก และสูงสุดที่ 24 ชม.หลังคลอด
  • แต่การดูดซึมโปรตีนภูมิคุ้มกันโรคจะหยุดลงภายใน 24 ชม. แรกหลังคลอด เรียกว่าลำไส้จะปิดการดูดซึม ดังนั้นการชักช้าในการดูดนมของลูกเนื่องจากไม่มีน้ำนม หรือลูกที่ไม่เก่งการค้นพบหัวนมแม่ จึงมีผลเสียมาก

น้ำหนักตัว จำนวนลูกครอก และ การดูดนม

  • ลูกแพะที่น้ำหนักตัวมากไปหรือน้อยไปจะเสี่ยงต่อการตายได้ โดยน้ำหนักตัวที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 3 – 5.5 กกในครอกแฝดจะมีอัตราตายที่สูงกว่าลูกเดี่ยว
  • การคลอดยากเป็นสาเหตุหลักของการตายสำหรับลูกที่มีขนาดใหญ่ แต่สำหรับลูกที่มีขนาดเล็กการตายมักมีสาเหตุจากการขาดอาหารและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
  • ลูกที่อ่อนแอจะไม่เก่งในการค้นพบหัวนมแม่ ซึ่งเป็นตัวตั้งต้นในการคงการดูดนมไว้ได้ ส่วนลูกที่หัดยืน-ดูดน้ำนมได้ช้าจะมีโอกาสรอดน้อยกว่า
  • จึงควรต้องกินนมน้ำเหลืองภายใน 6 ชม.แรกหลังคลอดดังนั้นสำหรับลูกที่น้ำหนักน้อยจึงมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ คือน้ำหนักน้อย-พลังงานสำรองน้อย-ลูกแพะอ่อนแอ

ลูกเกิดใหม่ต้องทำอย่างไร

การแยกตัวและเลือกพื้นที่คลอด

  1. แพะจะแยกตัวออกจากฝูงเมื่อเข้าสู่ระยะคลอด ในการเลี้ยงแบบกักขัง
  2. แพะใกล้คลอดจะเลือกแยกตัวออกมาถ้ามีโอกาสเลือกซองคลอดในโรงเรือน ในการเลี้ยงแบบปล่อย
  3. ยังไม่ชัดเจนนักว่าแพะจะเลือกที่คลอดหรือตามฝูงไม่ได้กันแน่ ในฝูงที่มีตัวเมียตั้งท้องจะพบว่ามีการรบกวนความสัมพันธ์แม่ลูกอีกด้วย

การเลียขน

  1. แม่แพะจะเลียขนให้ลูกภายใน ชม.แรก ๆ เนื่องจากการสนใจต่อน้ำคร่ำ และจะทำให้นำไปสู่การจำกลิ่นตัวลูกได้
  2. ในครอกแฝดแม่แพะจะหันมาสนใจลูกแฝดตัวหลัง แต่ลูกตัวที่สองจะไม่ได้รับการเลียตัวนานเท่ากับลูกตัวแรก
  3. ลูกแฝดจะทำให้แม่แพะต้องเลียนานขึ้นจึงทำให้เสี่ยงที่ลูกจะมีอุณหภูมิร่างกายลดต่ำได้
  4. ในขณะเลียแม่จะส่งเสียงต่ำพิเศษออกมาเมื่อเลียลูกทำให้เกิดการจดจำกันได้ของแม่ลูก

การจดจำกันได้ของแม่ลูก

  1. แม่แพะจะอยู่ในพื้นที่คลอดลูกหลาย ชม.หลังคลอด ทำให้เกิดความสัมพันธ์แม่ลูก
  2. กลไกการจดจำผ่านระบบประสาทรับกลิ่น ระยะเวลา 30-60 นาที ที่มีการสัมผัสใกล้ชิดหลังคลอดจะเพียงพอให้จดจำกันได้ และจะปฏิเสธตัวอื่นที่ไม่ใช่ลูกของตน
  3. ชั่วโมงแรกหลังคลอดจึงเป็นระยะวิกฤตในการจดจำกันได้ของแม่ลูก การรบกวนในระยะนี้จะนำไปสู่การไม่ยอมรับกัน แม่จะไม่ยอมเลี้ยงลูก และทำให้ลูกตายในที่สุด
  4. การจดจำกันได้แน่นแฟ้นเพียงพอหรือไม่ขึ้นกับระยะเวลาที่อยู่ในซองคลอด
  5. การที่แม่ลูกซึ่งยังมีการจดจำกันได้ยังไม่แรงพอ หากออกจากพื้นที่คลอดเร็วเกินไปอาจทำให้ลูกตายได้
  6. โดยปกติแล้ว แม่ลูกควรต้องอยู่ด้วยกันในพื้นที่คลอดอย่างน้อย 6 ชม.

การดูดนม

  1. การคลอดทำให้เกิดการกระตุ้นทางสรีระและพฤติกรรมต่อลูก
  2. ทำให้ลูกพบตัวแม่และรับรู้ซึ่งนำลูกไปหาหัวนม ส่วนมากแล้ว
  3. การดูดนมต้องเกิดขึ้นภายใน 2 ชม.

การติดตามแม่

  1. แม่อาจจะออกจากพื้นที่คลอดไป แต่ลูกต้องการดูดนมทุก ชม.
  2. ลูกจึงต้องติดตามแม่ไปในฝูง ส่วนใหญ่แล้วลูกแพะจะจำแม่แพะได้ใน 12-24 ชม.หลังคลอด และจะดีขึ้นเรื่อยๆ

คุณค่าของน้ำนมแพะ

นมแพะขึ้นชื่อว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีขนาดเม็ดไขมันที่เล็กจึงย่อยง่าย หลังจากดื่มนมแพะ เพียงประมาณ 20 นาที ร่างกายของเราก็สามารถ ย่อยและดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย

  • การที่ สารอาหารในนมแพะถูกย่อยและดูดซึมได้ง่ายนี้ร่างกายจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
  • ไขมันจากนมแพะ ย่อยง่ายจึงไม่สะสมในร่างกาย อีกทั้งนมแพะยังมีปริมาณแคลเซียมสูงจึงทำให้เนื้อกระดูกแน่นขึ้น
  • นอกจากนมแพะ จะไม่ก่อให้เกิดไขมันสะสมแล้ว นมแพะยังมีกรดไขมัน ชนิดพิเศษชื่อ คาโพรอิก ( Caproic ) คาพรีลิก ( Caprylic ) และคาพริก (Capric)
  • กรดไขมัน เหล่านี้ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับการดูดซึมอาหาร ไม่ว่าจะเป็นโรคภาวะดูดซึม สารอาหารบกพร่อง หรือลำไส้เล็กทำงานผิดปกติ
  • การดื่มนมแพะจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยที่มีปัญหา เกี่ยวกับ ระบบการดูดซึมอาหาร รวมทั้งผู้ที่มีปัญหากับการดื่มนมชนิดอื่นๆ
  • นมแพะมีค่า pH อยู่ในระดับ 6.4 – 6.7 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมใน การปรับสภาพกระเพาะอาหารให้มีความ เป็นกลางนั่นเอง คนที่อยากจะลองดื่มนมแพะก็หมดห่วงเรื่อง ท้องเสียไปได้เลย
  • ยิ่งปัจจุบันการเลี้ยงแพะ เริ่มแพร่หลายมากขึ้น เราจึงเริ่มเห็นฟาร์มเลี้ยงแพะ ขนาดใหญ่ที่ให้ความสำคัญทั้งในด้านบุคลากร สถานที่ และอาหาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้แพะมีสุขภาพดี อีกทั้งยังมีการควบคุม ตรวจสอบ คุณภาพตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข จึงยิ่งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในเรื่องของคุณภาพ