ยาถ่ายลูกวัว
“ทำไมเราต้องถ่ายพยาธิให้วัว ถ่ายพยาธิไปทำไม? บางท่านที่กำลังเริ่มเลี้ยงวัวอยู่หรือเลี้ยงมานานแล้วอาจจะเกิดคำถามพวกนี้ขึ้นมา โดยไม่รู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไรและพยาธิมันมีรูปร่างแบบไหนแล้วต้องใช้ยาถ่ายพยาธิวัวยี่ห้อไหนดี ใช้ยาแบบไหนให้วัวกิน ฉีด ราดหลัง หรือผสมอาหารดีนะ งั้นเราจะมาหาคำตอบไปพร้อมๆกันกับบทความบทนี้เลยจ้า”
ยาถ่ายพยาธิ คืออะไร
ยาที่ใช้เพื่อต่อต้านหรือทำลายปรสิตที่อยู่ในทางเดินอาหารไม่ว่าจะอยู่ในส่วนของ
- กระเพาะ
- ลำไส้
- หลอดอาหาร
- หรือส่วนอื่นๆ
- รวมไปถึงพยาธิที่อยู่ในโครงสร้าง หรืออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร
พยาธิภายใน
- ตับ
- ปอด
- กระแสโลหิตด้วย
พยาธิภายนอก
- เห็บ
- หมัด
- เหา
- ไร ถือเป็นพยาธิภายนอก
ยาที่ใช้กำจัดเรียกว่า Insecticide
พยาธิ คืออะไร
พยาธิคือสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ทั้งภายนอก และภายในตัวสัตว์ คอยแย่งอาหาร ดูดเลือดหรือของเหลว กัดกินเนื้อเยื่อสัตว์ที่พยาธิอาศัยอยู่ อุดตันเส้นเลือด ทำให้เกิดแผล เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อ อาจเกิดเนื้องอก ให้สารพิษเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์ที่พยาธิอาศัย ทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดความเครียด และเกิดการแพ้ พยาธิมีมากมายหลายชนิดแตกต่างกัน
ความสำคัญของโรคพยาธิ
พยาธิภายในเมื่อเกิดขึ้นกับสัตว์แล้วจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านสุขภาพ และผลผลิตของสัตว์ และเกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ดังนี้
- พยาธิแย่งอาหารจาก Host ทำให้เกิดสภาพขาดอาหาร (Dietary Deficiency)
- พยาธิรบกวนสุขภาพโดยทั่วๆ ไปของสัตว์
- พยาธิทำให้ผลผลิตจากสัตว์ลดลง
- ทำให้สัตว์มีภูมิต้านทานโรคต่ำลง
- เพิ่มต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์
ยาถ่ายพยาธิวัวยี่ห้อไหนดี
ยาถ่ายพยาธิ วิธีการใช้ และขนาดที่ใช้ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ชนิดพยาธิ | ชื่อการค้า/ตัวยา | วิธีให้ | ขนาด (มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) |
พยาธิไส้เดือน | Fenbendazole | กิน | 7.5 |
พยาธิตัวกลมภายในทางเดินอาหาร | Thiabendazole | กิน | 50 |
Oxibendazole | กิน | 0.15 | |
Albendazole | กิน | 7.5 – 15 | |
Mebendazloe | กิน | 1.5 | |
Levamisole | ฉีดใต้ผิวหนัง | 8 | |
Ivermectin | ฉีดใต้ผิวหนัง | 0.2 | |
Fenbendazole | กิน | 5 – 7.5 | |
พยาธิใบไม้ตับ | Albendazole | กิน | 5 – 7.5 |
Nitroxynil | ฉีดใต้ผิวหนัง | 7.5 | |
Triclabendazole | กิน | 12 | |
Oxyclozanide | กิน | 10 | |
Praziquantel | กิน | 15 | |
พยาธิตัวแบน | Fenbendazole | กิน | 5 |
Praziquantel | กิน | 1.5 | |
Niclosamide | กิน | 50 – 100 |
ควรเลือกใช้ยาถ่ายพยาธิยี่ห้อไหนดี
เพราะยาถ่ายพยาธิมีหลายตัวที่นิยมในวัว
ยาถ่ายพยาธิแบบเม็ด
สำหรับป้องกันและกำจัดพยาธิตัวกลมในกระเพาะ และลำไส้ พยาธิปอด ตัวอ่อนทุกระยะ ไข่พยาธิ และพยาธิตัวตืด ในวัว
ยาที่นิยมใช้ เช่น ยี่ห้อ รินตัลโบลัส 600 mg ของ bayer มีตัวยาออกฤทธิ์คือ Febentel ขนาดการใช้งาน 1 เม็ด ต่อน้ำหนักสัตว์ 120 กก.
ยาถ่ายพยาธิแบบฉีด
ยาที่นิยมใช้ คือ ไอเวอเม็ค-เอฟ
ประกอบด้วยตัวยา 2 ตัวรวมกัน คือ
1.ไอเวอร์เมค(Ivermec)ออกฤทธิ์กำจัดพยาธิตัวกลม และกำจัดเห็บได้ด้วย
2.คลอซูลอน(Clorsulon) ออกฤทธิ์ต่อพยาธิตัวแบนและใบไม้ ในวัว ควรเลือกใช้ไอเวอร์เมค-เอฟ ไม่ควรใช้ไอเวอร์เมคเดี่ยวเพราะออกฤทธิ์ไม่ครอบคลุมพอ
การใช้ ไอเวอร์เมค-เอฟ จะฉีดใต้ผิวหนังเท่านั้น การฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ ควรใช้แบบมีทะเบียนเพื่อความแน่นอน อัตราการใช้ ฉีดใต้ผิวหนัง 1 ซีซี ต่อน้ำหนักสัตว์50 กก. ทุก6เดือน
ยาถ่ายพยาธิแบบราดหลัง
ใช้กำจัดพยาธิภายในและภายนอก สำหรับโคเนื้อและโคนม เช่น พยาธิตัวกลมในกระเพาะและลำไส้ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ พยาธิปอด รวมถึงสามารถกำจัดเห็บ เหา ไร หรือหนอนแมลงวันได้จะนิยมใช้เฉพาะวัวนม เพราะต้องส่งนม จึงต้องใช้ยาราดหลังเพราะตกค้างน้อย และยาราดหลังราคาค่อนข้างแพง
การใช้ : ใช้เอ็ม-ม็อกไซด์ 10 ซีซีต่อน้ำหนักสัตว์ 100 กก. ราดลงบนหลังวัวไล่ตั้งแต่สันคอ(ตะโหนก) จนถึงโคนหาง เดือนละ 2-3 ครั้ง
ยาถ่ายพยาธิแบบผสมอาหาร
ยาถ่ายพยาธิ กำจัดพยาธิตัวแก่ อ่อน ไส้เดือน ตัวกลม เส้นด้าย พยาธิเม็ดตุ๋ม ไข่พยาธิ
มีตัวยา : อ็อกซี่เบนดาโซน
การใช้ : แม็กซีแบน 1 ซอง ต่อต่อน้ำหนักสุกร 650 กิโล ถ้าใช้ผสมอาหาร 1 ซอง ผสมอาหารสัตว์ 120 กิโล ต่อสุกร 60 ตัว
ยาถ่ายพยาธิแบบกรอก
เหมาะสำหรับลูกวัว
ที่อายุไม่ถึง2เดือน เพราะยาถ่ายพยาธิแบบฉีดอาจทำให้แพ้ยา และเหมาะสำหรับผู้ที่ฉีดยาไม่เป็น ยาที่นิยมใช้ เช่น ยี่ห้อ อเบนเทล
( Abentel) มีตัวยาออกฤทธิ์คือ Albendazole ออกฤทธิ์กำจัดได้ ทั้งพยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน และพยาธิใบไม้ (ฆ่าไข่พยาธิได้ด้วย) มีความปลอดภัยสูง การใช้ คือ 1 ซีซี ต่อน้ำหนักสัตว์ 10 กก.
ประโยชน์ของยาถ่ายพยาธิ
- กำจัดพยาธิภายในร่างกายของสัตว์ ทั้งพยาธิตัวแก่ และพยาธิตัวอ่อน
- ใช้ป้องกันการติดพยาธิในฝูงสัตว์
- ลดการสูญเสียจากพยาธิ
- ลดจำนวนไข่พยาธิ และตัวอ่อน
- ทำให้สัตว์มีสุขภาพดี ให้ผลผลิตสูง
- ยาถ่ายพยาธิบางตัวใช้เป็นยาระบายได้
สิ่งที่เราควรรู้เพื่อควบคุมโรคพยาธิ
- ต้องทราบวงจรชีวิตของพยาธิ
- การจัดการภายในฟาร์มเพื่อตัดวงจรชีวิตของพยาธิไม่ไห้ครบวงจร
- การใช้ยาฆ่าพยาธิหรือถ่ายพยาธิเป็นการป้องกันอย่างเหมาะสม
- รู้จักชนิดพยาธิ
พยาธิมีกี่ชนิด
พยาธิภายนอก
พยาธิภายนอก (Ectoparasite) พยาธิภายนอกที่พบในโคมีหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ เห็บ ไรขี้เรื้อน เหา แมลงดูดเลือด และหนอนแมลงวัน
เห็บโค
ความสำคัญของเห็บโค
- เลือด เห็บโคตัวหนึ่งอาจดูดเลือดได้ถึง 0.5 มิลลิลิตร
- เป็นตัวนำโรค เห็บโคสามารถนำโรคได้หลายชนิด เช่น บาบีซิโอซิส
และอะนาพลาสโมซิส
- รอยแผลที่เกิดจากเห็บกัดทำความเสียหายแก่หนังโค ทำให้ขายหนังไม่ได้ราคา
- รอยแผลจากเห็บดูดเลือดอาจเกิดแผลที่มีหนอนแมลงวันมาเจาะไชได้
การควบคุมเห็บโค
- การควบคุมเห็บในทุ่งหญ้า เห็บที่อยู่ในทุ่งหญ้าจะเป็นเห็บตัวอ่อนหรือเห็บตัวเมียดูดเลือดอิ่มตัว ควรจัดการทุ่งหญ้า โดยการปล่อยทุ่งหญ้าทิ้งไว้นานๆ หรือไถกลบ ไม่ควรใช้สารเคมี หรือยาฆ่าเห็บพ่นในทุ่งหญ้า
- การควบคุมเห็บบนตัวโค โดยการใช้ยาฆ่าเห็บชนิดต่างๆ เช่น
- ยาพวกออแกนโนฟอสฟอรัส เช่น ดาซุนทอล นีโอซิด เนกูวอน
- ยาพวกไพรีทรอยด์ เช่น คูเพ็กซ์ ซอลแพค 10 ดับบลิวพี ไบทรอด์ เอช 10 ดับบลิวพี บูท๊อกซ์
- ยาพวกอะมิดีน เช่น อะมีทราช
- ยาฉีด เช่น ไอโวเม็ค
เหาโค
สาเหตุ
เหาโคมีหลายชนิด พบได้ง่ายในบริเวณที่ขนยาว เช่น ที่พู่หาง มักพบในลูกสัตว์หรือสัตว์ที่มีสุขภาพไม่ดี โคที่มีเหามากจะแสดงอาการคันอย่างเห็นได้ชัด
การควบคุม
ยาที่ใช้กำจัดเห็บทุกชนิดสามารถใช้ควบคุมเหาได้ดี แต่ควรใช้ติดต่อกัน 2 ครั้ง เพื่อฆ่าตัวอ่อนของเหาที่เพิ่งจะออกจากไข่
ไรขี้เรื้อน
- ไรขี้เรื้อนขุนขน (Demodectic mange) เกิดจากไรชนิดดีโมเดกซ์ (Demodex bovis) พบได้บ่อยในโคประเทศไทย
อาการ
- ชนิดที่พบมักเป็นแบบเฉพาะที่ ซึ่งรอยโรคที่ปรากฎจะมีลักษณะคล้ายเชื้อราคืด
- มีขนหักหรือขนร่วงหลุดเป็นวงๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-5 เซนติเมตร
- เมื่อดูใกล้ๆ จะเห็นเป็นรอยนูนสูงขึ้นมาคล้ายเป็นตุ่มเล็กๆ ถ้าบีบหรือขูดบริเวณที่เป็นรอยนูนนี้จะพบของเหลวคล้ายหนองข้นสีขาว
- เมื่อนำไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบไรขึ้นเรื้อนขุมขนเป็นจำนวนมาก
สำหรับโรคขี้เรือนขุมขนชนิดเป็นทั้งร่างกายพบได้น้อยในประเทศไทย ลักษณะที่พบจะเป็นการอักเสบที่ผิวหนังมีหนองและเลือดปนอยู่ทั่วไป ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย รอยโรคจะกระจายไปอย่างรวดเร็ว และเชื้ออาจแพร่ไปยังโคตัวอื่นได้
การรักษา
ไรขี้เรื้อนแบบเฉพาะที่ไม่ต้องรักษาเพราะโรคมักไม่แพร่กระจาย แต่ถ้าโคเป็นแบบทั่วตัวควรจำหน่ายออกเพราะรักษายากมาก ยกเว้นในรายที่เป็นไม่มากอาจใช้ยาทาเฉพาะที่ เช่น ยาพวกออแกนโนฟอสฟอรัสหรือยาอะมิทราช
- ไรขี้เรื้อน ชนิดโคริออนติก (Chorioptic mange) เกิดจากไรชนิดโคริออบเทส (Chorioptes spp.)
อาการ
ในโคจะพบรอยโรคที่บริเวณโคนหาง รอบก้น หลัง และเต้านม โดยอาจจะเกิดตุ่มพอง (papule) หรือรักแค (scab) หรือรอยโรคที่เป็นลักษณะของการระคายเคือง หนังบริเวณนั้นจะหยาบ ย่น สกปรก ขนร่วง มักพบได้บ่อยที่บริเวณโคนหางและรอบก้น
การตรวจวินิจฉัย
ทำได้โดยการขูดผิวหนังบริเวณที่เป็นโรคผสมกับพาราฟินบนสไลด์นำไปตรวจดูด้วย กล้องจุลทรรศน์ จะพบตัวไรระยะต่างๆ แต่จะต้องแยกจากไรชนิดโซรอบเทส (Psoroptes spp.)
การรักษา
เนื่องจากไรชนิดนี้จะไม่ฝังตัวลงในผิวหนัง การรักษาจึงทำได้ไม่ยากนัก การใช้ยาที่เป็นยาฆ่าเห็บและไร (acaricide) ทุกชนิดในขนาดที่แนะนำสามารถใช้ได้แต่ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม ประหยัด ปลอดภัย และพิษตกค้าง สำหรับโคนมถ้าเป็นระยะรีดนมแล้วต้องระมัดระวังให้มาก การใช้ยาดังกล่าวอาจจะมีการปนไปในน้ำนม ควรใช้ยาอื่นๆ ที่ปลอดภัย เช่น ปูนขาวผสมกำมะถัน (lime sulphur) เป็นทางเลือกที่ดีเพราะจะประหยัดและปลอดภัย
- การเตรียมไลม์ซัลเฟอร์ (lime sulphur)
- กำมะถังผง (Sulphur powder) 5 กิโลกรัม
- ปูนขาว (Lime, CaO) 0 กิโลกรัม
- น้ำ 20 ลิตร
ผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงแล้วเติมน้ำจนครบ 200 ลิตร สารผสมนี้สามารถที่จะนำไปพ่นบนตัวโคได้หรือชุบด้วยผ้าหรือฟองน้ำเช็ดบริเวณ ที่เป็นทุก 10 วัน
แผลหนอนแมลงวัน
สาเหตุ
แมลงที่ทำให้เกิดแผลหนอนในสัตว์ต่างๆ รวมทั้งโคมีหลายชนิดแต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ แมลงคริสซอเมีย (Chrysomyia bezzina) ซึ่งแมลงตัวแก่จะมีลักษณะคล้ายกับแมลงหัวเขียวมาก แมลงเหล่านี้จะบินมาตอมและหากินอยู่ที่แผลของสัตว์ เช่น แผลที่สะดือลูกโค แผลจากอุบัติเหตุ และวางไข่ไว้ที่แผล ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนหรือหนอน ตัวอ่อนนี้จะใช้เวลาเจริญอยู่ในแผล 3-6 วัน จากนั้นตัวอ่อนจะหล่นลงดินกลายเป็นดักแด้และเจริญเป็นแมลงตัวแก่ต่อไป หนอนแมลงวันมักเกิดในช่วงฤดูที่เหมาะสมในการแพร่พันธุ์ของแมลงวัน
อาการ
- บาดแผลจะเปิดกว้าง
- เปื่อยยุ่ย ส่งกลิ่นเหม็นเน่า
- อาจมีเลือดออกเนื่องจากตัวอ่อนของแมลงวันชอนไช
- โคจะแสดงอาการเจ็บปวด
- ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องสุขภาพสัตว์จะทรุดโทรมและอาจตายในที่สุด
การรักษา
- โกนขนรอบบริเวณแผลให้กว้างห่างจากขอบแผลพอสมควร
- ล้างแผลให้สะอาดโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำต้มสุกอุ่น
- ถ้ามีหนองให้ล้างแผลด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
- จากนั้นใช้สำลีเช็ดขูดเนื้อตายออกให้หมด โรยผงเนกาซันต์ลงในแผลเพื่อฆ่าตัวอ่อนแมลง
- จับตัวอ่อนออกให้หมดทาแผลด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน
- ควรโรยผงเนกาซันต์ไว้อีกเพื่อฆ่าตัวอ่อนที่หลงเหลือ และป้องกันการวางไข่ซ้ำ ทำเช่นนี้ทุกวันจนกว่าแผลจะหายสนิท
การควบคุมและป้องกัน
วิธีที่ดีที่สุดคือ เมื่อเกิดแผลที่ผิวหนังให้รีบทำการรักษาแผลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และถ้าเป็นแผลใหญ่ควรใส่สารไล่แมลง (fly repellent) หรือใช้ยาปฏิชีวนะหรือซัลฟาที่ผสมยาฆ่าตัวอ่อนของแมลงด้วย
พยาธิภายใน
- ตัวกลม
- ตัวตืด
- ใบไม้
พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร
พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหารโคมีมากกว่า 5 ชนิด และมีบทบาทสำคัญมากในโคทุกวัย ลูกโคแรกเกิดอาจได้รับตัวอ่อนของพยาธิตัวกลมจากนมน้ำเหลือง และเมื่อโคเริ่มกินหญ้าก็จะได้พยาธิที่ปะปนมากับหญ้า พยาธิเหล่านี้ระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้ ทำให้ทางเดินอาหารอักเสบ
ยาถ่ายพยาธิตัวกลม ได้แก่
- ไทอาเบนดาโซล ให้กินขนาด 50-100 มิลลิกรัมตัวยา/100 กิโลกรัมน้ำหนักสัตว์
- ซิตาริน-แอล 10% ฉีดขนาด 1 ซีซี./20 กิโลกรัมน้ำหนักสัตว์
พยาธิตืดวัว
เป็นพยาธิตัวตืดที่ติดเชื้อในลำไส้มนุษย์ วัวเป็นโฮสต์ตัวกลาง (Intermediate host) ซึ่งมีการพัฒนาตัวอ่อน ในขณะที่คนเป็นโฮสต์จำเพาะ (Definitive host) ซึ่งเป็นที่อยู่ของตัวเต็มวัยของพยาธิ พยาธิตืดวัวพบได้ทั่วโลก คนติดเชื้อโดยการกินเนื้อวัวดิบหรือปรุงไม่สุกที่มีซีสต์ตัวอ่อนอยู่ พยาธิตืดวัวเป็นกะเทย โดยแต่ละปล้องมีทั้งอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเมีย ไข่พยาธิออกมากับอุจจาระคน และวัวกินอาหารที่ปนเปื้อนไข่พยาธิ ไข่พยาธิกลายเป็นซีสต์ในกล้ามเนื้อ ตับ และปอดของวัว พยาธิตืดวัวมีลักษณะคล้ายพยาธิตืดหมูทั้งในด้านโครงสร้างและชีววิทยา แต่พยาธิตืดวัวมีขนาดใหญ่และยาวกว่า จำนวนปล้องมากกว่า อัณฑะมากกว่า และมดลูกแตกแขนงมากกว่า นอกจากนี้พยาธิตืดวัวไม่มี scolex พยาธิตืดวัวก่อโรคในลำไส้เท่านั้น ไม่ทำให้เกิด cysticercosis การติดเชื้อพยาธิตืดวัวมักไม่เป็นอันตรายและมักไม่มีอาการ
พยาธิใบไม้
เรียกชื่อสามัญของหนอนพยาธิ (Helminths) ที่มีรูปร่างแบนทั้งด้านบนและด้านล่างคล้ายใบไม้ ( ยกเว้นพยาธิใบไม้เลือดที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก)เป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางจุลินทรีย์ ( biologicalhazard) ทำให้เกิดโรคที่มีอาหารเป็นสื่อ (foodborne disease) ขนาดของพยาธิจะแตกต่างกันมาก ตั้งแต่เล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
แบ่งตามที่อยู่เป็น 4 กลุ่ม
- Lung flukes (พยาธิใบไม้ปอด)
- Liver flukes (พยาธิใบไม้ตับ)
- Intestinal flukes (พยาธิใบไม้ลำไส้)
- Blood flukes (พยาธิใบไม้เลือด)
ระบบทางเดินอาหาร ( digestive system )
– ปากอยู่ด้านหน้าสุด ล้อมรอบด้วยกล้ามเนื้อ เรียกว่า oral sucker มีหลอดคอ ( pharynx ) และหลอดอาหาร ( esophagus )ลำไส้แยกออกเป็น 2 แขนงไปสิ้นสุดที่ส่วนท้ายของลำตัวและปลายตัน
– อาหารคือ สารที่เป็นของเหลวหรือกึ่งเหลวตรงบริเวณที่มันอาศัยอยู่ อาหารที่เป็นสารละลายจะถูกดูดซึมผ่านทางผิวหนัง อาหารที่ไม่เป็นสารละลายจะถูกกินทางปาก
ระบบหายใจ ( respiratory system )
– พยาธิใบไม้ส่วนใหญ่ไม่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ จึงไม่มีอวัยวะสำหรับการหายใจ ยกเว้นในระยะตัวอ่อนจะหายใจโดยการดูดซึมผ่านทางผิวหนัง
ระบบขับถ่าย ( excretory system )
– ประกอบด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดคือ flame cell ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้กรองของเหลว ภายในลำตัวของเหลวจะผ่านท่อเล็กๆ และรวมเข้าสู่ท่อใหญ่ขึ้น (collecting tubule) เข้ากระเพาะขับถ่าย (excretory bladder) ซึ่งเปิดสู่ภายนอกที่ส่วนท้ายสุดของลำตัว
ระบบประสาท ( nervous system )
– ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ประสาท 3 คู่ และมีเส้นประสาททอดยาวไปตามลำตัว
ระบบสืบพันธุ์ ( reproductive system )
– พยาธิใบไม้ทั้งหมดเป็น hermapphrodite คือมีอวัยวะเพศทั้ง 2 เพศ อยู่ในตัวเดียวกัน ยกเว้นพยาธิใบไม้เลือด
– อวัยวะเพศผู้ โดยทั่วไปพยาธิใบไม้มี testes 2 อัน มีรูปร่างกลมรี มีแขนง หรือเป็นท่อตามแต่ละชนิดจาก testis จะมีท่อ vas efferen ไปรวมกันเป็นท่อ vas defferen แล้วผ่านไปใน cirrus sac ไปสู่ seminal vesicle ท่อนี้จะผ่านprostategland ไปสิ้นสุดที่ cirrus organ และไปเปิดสู่ที่เปิดของอวัยวะสืบพันธุ์ (common genital pore) ซึ่งมักจะอยู่ชิดกับ ventral sucker
– อวัยวะเพศเมีย ประกอบด้วยรังไข่ ( ovary ) 1 อัน มีรูปร่างแตกต่างกันตามชนิด ซึ่งมักจะอยู่ตรงกลางลำตัว จากรังไข่จะมีท่อนำไข่ (oviduct) ไปสู่ ootype ซึ่งเป็นแหล่งที่จะสร้างไข่และบริเวณที่รับเชื้อตัวผู้ (seminal receptacle) ท่อและต่อม vitteline มาเปิดสู่ ootype ซึ่งจะมีต่อมสร้างเปลือกไข่ต่อจาก ootype เป็นมดลูก (uterus) เป็นท่อขดไปมาแล้วเปิดสู่ common genital pore