สูตรอาหารไก่
อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ สำหรับไก่ในฟาร์ม ไก่พื้นบ้าน ไก่กึ่งขัง กึ่งปล่อยในชนบท จะให้อาหารคือ
- ข้าวเปลือก
- ปลายข้าว
- ข้าวนอกจาก จะเป็น อาหารคนแล้ว
- บางส่วนยังเป็นอาหารไก่ด้วย
กระบวนการผลิตข้าวจึงมีความคุ้มค่าเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เกษตรกรได้หันมาซื้ออาหารสําเร็จรูปสำหรับไก่กินเนื่องจาก มีคุณค่าทางสารอาหารดีกว่า แต่ก็ราคาสูง จึงมีการคิดค้นอาหารขึ้นเอง และให้สารอาหารครบถ้วน ได้แก่ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน อย่างไรก็ตาม อาหารไก่ มีไว้สำหรับหลายประเภท
ประเภทอาหารไก่
อาหารไก่สามารถแบ่งได้หลายประเภท โดยสามารถแบ่งตาม การเจริญเติบโต และ แบ่งตามสายพันธ์ไก่
ประเภทของอาหารแบ่งตามเจริญเติบโตของไก่
อาหารไก่ตามการเจริญเติบโตแบ่งเป็นตามช่วงอายุของไก่ ซึ่งสามารถแบ่งได้ตามอายุได้ 4 ช่วงอายุ โดยที่อายุสุดท้ายจะเป็นอาหารสำหรับก่อนส่งตลาด เนื่องจากมีวัคซีนและฮอร์โมน จึงมีการปรับสูตรอาหารก่อนส่งตลาด
- ไก่เล็ก
- ไก่รุ่น
- ไก่ใหญ่
- อาหารก่อนส่งตลาด
ประเภทของอาหารไก่แบ่งตามสายพันธ์
- อาหารไก่ไข่
- อาหารไก่เนื้อโตเร็ว
- อาหารไก่พื้นเมือง
- อาหารไก่ลดต้นทุน
สูตรอาหารไก่ไข่
สูตรอาหารไก่ไข่ที่สามารถหาวัตถุดิบมาผสมเองได้ง่าย ๆ เลย มีวัตถุดิบที่ต้องใช้ และวิธีการผสมดังนี้ครับ
ส่วนผสมอาหารไก่ไข่
- รำละเอียด 30 กก.
- ปลายข้าว 1 กก.
- กากน้ำตาล 1 กก.
- เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ
- ขี้วัวแห้ง 4 กก.
- ดินนาบด 2 กก.
- ต้นกล้วยสับละเอียด 30 กก.
วิธีการผสม
สำหรับการผสมอาหารไก่ด้วยสูตรข้างต้น สามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ผสมส่วนผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันในภาชนะ
- เอาไปให้ไก่กินได้เลย หรือเก็บในที่ภาชนะปิดสนิท
- หรือใส่ถุงพลาสติกมัดอย่าให้อากาศเข้า
- หมักไว้ 5 วันจะมีตัวหนอนคือโปรตีน
การให้อาหาร
- กรณีไก่พร้อมไข่ นำมาผสมกับอาหารไก่สำเร็จรูปในอัตรา 3 ส่วน ทำเอง 1 ส่วน
- สำหรับไก่สาว ให้ผสมกับอาหารไก่ อย่างละครึ่ง แล้วลดปริมาณอาหารสำเร็จรูปลง
สารอาหารที่สำคัญ
- โปรตีน 15.3 %
- ธาตุเหล็กจากดิน
สูตรอาหารไก่โตเร็ว
สำหรับสูตรอาหารไก่โตเร็วมีวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ต้องเตรียม และมีวิธีผสมง่าย ๆ ตามนี้เลยครับ
ส่วนผสมที่ต้องใช้
สำหรับส่วนผสมนี้ประกอบด้วย
- กล้วยน้ำว้าตากแห้ง หรือ จะให้ทั้งผลก็ได้
- อาหารไก่สำเร็จรูป
- อาหารหมู
- ใบกระเพรา หรือ สมุนไพรอื่น
- ฟ้าทะลายโจร
วิธีการผสมอาหาร
ขั้นตอนการผสมอาหารโดยทำขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ผสมอาหารไก่เล็กและอาหารหมูลงเข้าด้วยกัน
- ใบกระเพราหั่นละเอียด
- ฟ้าทะลายโจรหั่นละเอียด
- ผสมทุกอย่างเข้าด้วยกัน พร้อมกับกล้วยน้ำว้า
สูตรอาหารไก่พื้นเมือง
สูตรอาหารไก่พื้นเมืองสามารถแบ่งเป็นสองสูตร ซึ่งเหมาะสำหรับ สูตรอาหารที่ตัดแต่งเอง คือ ผสมขึ้นเอง โดยไม่ใช้หัวอาหารผสม และสำหรับคนที่ไม่มั่นใจในสูตรสามารถใช้ หัวอาหารผสมลงไปได้
สูตร 1 สำหรับ 6 สัปดาห์ขึ้นไป
สำหรับสูตรแรก ใช้สำหรับการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ที่อายุ 6 สัปดาห์ ถึงจำหน่าย
ข้าวโพดเป็นส่วนผสมหลักของอาหารไก่
วัตถุดิบประกอบด้วย
- ข้าวโพด 68 กก.
- รำละเอียด 15 กก.
- ปลาป่น 5 กก.
- กากถั่วเหลือง 10 กก.
- เปลือกหอยป่น 1 กก.
- พรีมิกซ์ 1 กก.
- สมุนไพร 0.25 กก.
สูตร 2 สำหรับใช้ผสมหัวอาหาร
ส่วนสูตร 2 เป็นอาหารสำเร็จรูปสำหรับไก่พื้นเมือง โดยมีการซื้อหัวอาหารมาใช้ผสม
วัตถุดิบสำหรับผสมอาหาร
ส่วนผสมหลักสำหรับการผสมอาหารสูตร 2 นี้อาจจะใช้หัวอาหารมาเป็นส่วนผสมเพิ่ม
- หัวอาหารไก่ 10 กก.
- ปลายข้าว ข้าวโพดบด 20 กก.
- รำข้าวละเอียด 10 กก.
- สมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร 0.25 กก.
วิธีการให้อาหารไก่
สำหรับสูตรนี้มีวิธีการให้อาหารดังต่อไปนี้
- นำส่วนผสมมาคลุกเค้าให้เข้ากันแล้วนำไปให้ไก่
- ควรให้ปริมาณไม่เกิน 1 วัน เพื่อให้อาหารไก่ใหม่อยู่เสมอ
- สมุนไพรได้แก่ ขมิ้น ไพล ฟ้าทลายโจร ชนิดผง อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ หรือ ช้อนชา
สูตรอาหารไก่เนื้อ
สูตรอาหารไก่เนื้อมีให้เลือกใช้ทั้งหมด 3 สูตรด้วยกัน มีขั้นตอนวิธีการผสมสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ครับ
สูตรที่ 1 มีวัตถุดิบ ดังนี้
- ข้าวโพดบด 14 กก.
- ปลายข้าว 36 กก.
- กากถั่วเหลือง 16 กก.
- ปลาป่น 4 กก.
- รำละเอียด 60 กก.
- พรีมิกซ์ 0.25 กก.
- ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต (P 16%) 2.5 กก.
- ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต (P 21%) 1 กก.
- ไลซีน 0.2 กก.
- เมทไธโอนีนและซีสตีน 0.2 กก.
- เกลือแกง 0.4 กก.
- ใบกระถินป่น 1 กก.
- ฟ้าทะลายโจร 0.15 กก.
- ขมิ้น 0.05 กก.
- ไพล 0.05 กก.
ขั้นตอนการผสม
- นำวัตถุดิบทุกอย่างที่บดละเอียด
- นำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- ผสมเสร็จแล้วสามารถนำมาไปเป็นอาหารสำหรับลูกไก่-แม่ไก่ ได้เลยครับ
สูตรที่ 2 มีวัตถุดิบ ดังนี้
- ข้าวโพดบด 50 กก.
- รำละเอียด 60 กก.
- รำโรงสีกลาง (รำหยาบ) 15 กก.
- หัวอาหารสุกร 20 กก.
- ใบกระถินป่น 1 กก.
- ฟ้าทะลายโจร 0.15 กก.
- ขมิ้น 0.05 กก.
- ไพล 0.05 กก.
ขั้นตอนวิธีการผสมง่าย ๆ เลยครับ
- นำวัตถุดิบที่เตรียมไว้มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- สามารถนำไปให้ไก่กินได้เลย
สูตรที่ 3 มีวัตถุดิบ ดังนี้
- ปลายข้าว 36 กก.
- รำละเอียด 60 กก.
- รำโรงสีกลาง (รำหยาบ) 15 กก.
- หัวอาหารสุกร 20 กก.
- ใบกระถินป่น 1 กก.
- ฟ้าทะลายโจร 0.15 กก.
- ขมิ้น 0.05 กก.
- ไพล 0.05 กก.
ขั้นตอนวิธีการผสมสามารถทำได้ง่าย ๆ
- นำวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- ผสมให้เข้ากันดีแล้วสามารถนำไปให้ไก่กินได้เลยครับ
สูตรอาหารไก่ลดต้นทุน
สำฃหรับสูตรอาหารไก่ลดต้นทุน มีทั้งหมด 3 สูตรด้วยกัน สามารถเลือกนำไปใช้ได้เลย ตามวัตถุดิบที่ผู้เลี้ยงมี หาได้ง่าย และสะดวกนำมาใช้
สูตรที่ 1 มีส่วนผสม ดังนี้
- หยวกกล้วย 3 กก. (สามารถใช้กล้วยอะไรก็ได้)
- กากน้ำตาล 1 กก. (อาหารจุลินทรีย์)
- เครื่องดื่มเอ็มร้อย 1 ขวด
- นมเปรี้ยว 1 ขวด
ขั้นตอนการหมักใช้งาน
- เลือกใช้ต้นกล้วยที่ไม่แก่มากเกินไป
- ซอย หรือ หั่น ให้เป็นชิ้น เป็นแผ่นเล็ก ๆ
- จากนั้นนำมาไส่ลงในถังหมักที่เตรียมไว้ แล้วไส่ส่วนผสมที่เหลืองลงไป
- ปิดฝาถังให้สนิททิ้งไว้ประมาณ 7 วัน
- หลังจากครบ 7 วันผู้เลี้ยงนำมาให้ไก่กินได้เลย หรือจะผสมกับวัตถุดิบอื่นให้ไก่กินก็ได้
สูตรที่ 2 มีส่วนผสม ดังนี้
- แกลบ 5 กก.
- กากน้ำตาล 1 กก.
- รำ 0.5 กก.
ขั้นตอนการหมักใช้งาน
- นำแกลบ กากน้ำตาล รำ ผสมให้เข้ากัน
- จากนั้นนำมาไส่ถังทิ้งไว้ โดยที่ไม่ต้องปิดฝาถัง
- หมักทิ้งไว้ 5 วัน จะเห็นว่ามีหนอนสีขาวเกิดขึ้น ให้ปิดฝาถังหมักไว้
- ปล่อยทิ้งไว้ให้หนอนโตก็สามารถนำเอาไปเลี้ยงไก่ได้เลยครับ
วัตถุประสงค์สำหรับสูตรนี้
เพื่อให้มีหนอนเกิดขึ้นกับอาหารที่ผู้เลี้ยงหมักทิ้งไว้ แล้วนำหนอนที่เกิดขึ้นไปเลี้ยงไก่
สูตรที่ 3 มีส่วนผสม ดังนี้
- หยวกกล้วยสับละเอียด 2 กก.
- ปลายข้าว 0.5 กก.
- รำละเอียด 0.5 กก.
- ข้าวเปลือก 1 กก.
- ขี้เค้กปาล์ม 1 กก.
- กากน้ำตาล 1 ลิตร
- EM จุลินทรีย์ 0.1 ลิตร
อุปกรณ์
- กระบะผสมอาหาร
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสม เช่น จอบ พลั่ว
ขั้นตอนการผสม
- สับ หรือหั่นหยวกกล้วยให้ละเอียดแล้วไส่ลงไปในกระบะผสม
- ไส่ข้าวเปลือกลงไปแล้วผสมให้เข้ากัน
- ตามด้วยขี้เค้กที่เตรียมไว้แล้วผสมให้เข้ากัน
- จากนั้นตามด้วยกากน้ำตาลแล้วผสมให้เข้ากัน
- นำรำละเอียด และปลายข้าวที่เตรียมไว้ลงไปแล้วผสมให้เข้ากัน
- ขั้นตอนสุดท้ายนำ EM จุลินทรีย์ ไส่ลงไปแล้วคลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน
- ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วสามารถนำไปให้ไก่กินได้เลยครับ
วิธีการนำอาหารผสมเองไปให้ไก่กิน
- ไก่พร้อมไข่ สามารถนำมาผสมกับอาหารไก่สำเร็จรูปในอัตราส่วน 1:3 อาหารทำเอง 1 ส่วน ต่อ อาหารสำเร็จรูป 3 ส่วน
- ไก่สาว ผสมกับอาหารไก่สำเร็จรูปครึ่งต่อครึ่งจากนั้นก็ค่อย ๆ ลดปริมาณอาหารสำเร็จรูปลงเรื่อย ๆ
สูตรอาหารรักษา และป้องกันโรคในไก่
สูตรอาหารรักษา และป้องกันโรคมีด้วยกัน 2 สูตร ซึ่งสองสูตรนี้สามารถป้องกัน และรักษาโรค อหิวาต์/นิวคาสเซิล/ฝีดาษ ฯลฯ ในไก่ได้
สูตรที่ 1 มีส่วนผสม ดังนี้
- บอระเพ็ด 1 กก.
- ฟ้าทะลายโจร 1 กก.
- กระเทียม 0.5 กก.
- น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
ขั้นตอนวิธีการทำ
- ให้นำน้ำตาลทรายแดงมาเคี่ยว (ไม่ต้องใส่น้ำ) 0.5 กก.ก่อน
- จากนั้นก็ผสมกับส่วนผสมอื่น ๆ ที่เตรียมไว้ หมักทิ้งไว้ 30 วัน
- จากนั้นก็นำไปให้ไก่ไก่กินโดยตรง (ประมาณ 1 ช้อนชา) หรือจะผสมน้ำให้ไก่กินก็ได้ (อัตราส่วน น้ำ 5 ลิตร ต่อ ยา 1 ช้อนแกง) กินได้ทั้งไก่ไข่ ไก่เนื้อ
สูตรที่ 2 มีส่วนผสม ดังนี้
- ฟ้าทะลายโจร 1 กก.
- น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
- โทงเทง 1 กก.
- น้ำเปล่า
ขั้นตอนการหมัก
- นำฟ้าทะลายโจร น้ำตาลทราย โทงเทง มาผสมให้เข้ากันกันในอัตราส่วน 1:1:1
- เติมน้ำลงไปให้พอท่วม ใส่ภาชนะที่มีฝาปิด
- หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน
- นำมาใช้ผสมกับอาหารให้ไก่กินได้เลย ช่วยให้ไก่มีสุขภาพที่ดี และลดอัตราการเกิดโรค
รูปแบบของอาหารไก่มี 2 แบบ
● แบบผง
คืออาหารที่วัตถุดิบถูกบดละเอียด ส่วนใหญ่แล้วจะเหมาะสำหรับลูกไก่มากที่ครับ เนื่องจากลูกไก่อายุน้อยนั้นระบบย่อยอาหารเพิ่งเริ่มทำงานทำให้ย่อยง่าย แล้วอีกอย่างปากของลูกไก่ก็ยังเล็กเกินกว่าที่จะจิกกินอาหารแบบทั่ว ๆ ไปได้
แต่อย่างไรก็ตามอาหารแบบผงเองก็สามารถนำเป็นอาหารให้ไก่ได้ทุกช่วงวัยครับ โดยการนำไปผสมกับน้ำร้อนเพื่อให้เนื้อสัมผัสที่คล้ายกับโจ๊กซึ่งนี่ก็เป็นเนื้อสัมผัสที่ไก่ส่วนใหญ่ชอบนั่นเอง
● แบบเม็ด
อาหารเม็ดคืออาหารที่เรามักจะเห็นว่ามีขายกันอยู่ทั่ว ๆ ไปค่ะ มีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่และอาจย่อยได้ยากจึงเหมาะสำหรับไก่ที่โตเต็มวัยมากกว่าครับ ข้อดีของอาหารประเภทนี้คือสะดวกต่อเจ้าของฟาร์มหรือเจ้าของไก่ในการให้อาหารและยังสะดวกต่อการเก็บรักษาอีกด้วยครับ
การอัดเม็ดอาหารไก่
เมื่อเทียบคุณค่าทางอาหารเท่ากัน ในอัตราการกินที่เท่ากัน เช่นอาหาร 100 กรัม เท่ากัน แบบอักเม็ด กับไม่อัดเม็ด (แบบผง) แบบอัดเม็ดจะมีการย่อย การดูดซึม ของอาหารดีกว่า เพราะเป็นอาหารที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ผ่านความร้อนแรงดันในยการอัดเม็ด
หลังจากอัดเม็ดเสร็จแล้วยังมีการสุ่มตรวจ เพื่อหาโปรตีนและแร่ธาตุต่าง ๆ ความต้องการของไก่เพื่อให้เพียงพอไม่ให้ขาด
ทำไมไก่กินอาหารเม็ดแล้วชอบขาอ่อน?
เวลาไก่กินอาหารเม็ดแล้วไก่จะชอบขาอ่อนขาไม่มีแรง เพราะแหล่งแคลเซียมเหลือค่อนข้างน้อย ไก่ขาอ่อนเยอะ เพราะอาหารอัดเม็ดที่กินเข้าไปย่อยง่ายและอาจถูกขับทิ้งจากร่างกายทางปัสสาวะไวจนเกินไปโดยเฉพาะเล้าเปิดที่ไม่สามารถความคุมอุณหภูมิได้ ถ้าเจอช่วงอากาศร้อนแม่ไก่จะแสดงอาการหอบ นอกจากแม่ไก่สูญเสียพลังงานไปกับการหอบเพื่อระบายความร้อนแล้ว
การหอบยังมีผลทำให้แม่ไก่สูญเสีย CO2 ที่แม่ไก่จำเป็นต้องใช้ในขบวนการการสร้างไข่ อาจส่งผลทำให้ไก่ขาดแคลเซียมเปลือกไข่จะบางได้ครับ อาหารเม็ดนิยมใช้ในเล้าที่เลี้ยงเล้าระบบปิด มีการควบคลุมอุณหภูมิ
ปัญหาไก่ขาอ่อน บางฟาร์มถ้าไก่อายุมากขึ้นจำเป็นต้องเสริมแคลเซียมเรื่องกระดูก เปลือกบาง ก็จะซื้อหินเกล็ดมาโรยให้ไก่กินโดยเฉพาะราคาไม่แพงครับ
อาหารไม่อัดเม็ด (แบบผง)
ส่วนแบบผงคือวัตถุดิบนำมาผสมกันแล้วกรอกถุง แคลเซี่ยมหลัก ๆ คือหินเกล็ดในสูตรอาหารไก่ไข่สำเร็จแบบผงในปัจจุบันหินเกล็ดจึงมีลักษณะเม็ดใหญ่เพื่อช่วยทำให้ลดการสลายตัวของแคลเซียม ช่วยในการย่อยอาหารเนื่องจากไก่ไม่มีฟันบดเคี้ยว
จะเห็นได้ว่าเมื่อผ่าดูกระเพาะพักจะมีเห็นหินเกล็ดอยู่จำนวนมากในอาหารสำเร็จแบบผงจะมีหินเกล็ดอยู่มากแก้ปัญหาไก่ขาอ่อนได้ดี อยู่ที่สูตรอาหารแต่ละบริษัท นิยมใช้กับไก่ที่เลี้ยงกรงตับแบบเปิดและเลี้ยงปล่อยค่ะ
เมื่อสารอาหารครบคุณภาพดีตามความต้องการของไก่ก็ย่อมได้ผลผลิตที่ดี ทั้งคุณภาพภายในไข่และคุณภาพภายนอก
เครื่องอัดเม็ดทำเอง
ประโยชน์ของอาหารอัดเม็ดที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ อาหารอัดมีประสิทธิภาพสูงมาก ๆ ในด้านการแลกเนื้อและเพิ่มน้ำหนัก
ทำไมต้องทำอาหารอัดเม็ด?
จำเป็นด้วยเหรอที่ต้องอัดเม็ด เพราะถึงแม้ว่าไม่อัดเม็ด ไก่ก็กินดีอยู่แล้ว ถ้าผู้เลี้ยงหรือขุนไก่ตัวเดียว การเทอาหารข้นผงลงไปและให้มันกินตัวเดียว ในภาชนะใส่อาหารนั้น ๆ ไก่ของผู้เลี้ยงกินอาหารหมดตัวเดียว ก็ดีไป เพราะจะไม่มีปัญหาการเลือกกินวัตถุดิบ
ประเด็นคือ การเทอาหารข้นผงที่ผสมจากวัตถุดิบหลายๆตัวให้ไก่หลาย ๆ ตัวกินรวมกัน มันอาจจะเกิดปัญหาการเลือกกินอาหารทำให้ไก่ของผู้เลี้ยงได้รับสารอาหารไม่เท่ากัน และมีการเจริญเติบโตหรืออัตราแลกเนื้อในระยะการเจริญเติบโตแตกต่างกัน
ประเด็นหลักใหญ่ๆคือ อาหารที่อัดเม็ดแล้ว จากวัตถุดิบที่เป็นผงจากหลาย ๆ วัตถุดิบ จะลดการฟุ้งเวลาไก่กินและช่วยให้ไก่กินได้เร็วและกินได้มากขึ้น
ที่สำคัญมาก ๆ คือ การย่อยสารอาหารที่สัมพันธ์กันระหว่างโปรตีน และพลังงานจากพวกคาร์โบไฮเดรตเมื่อสารอาหารที่เป็นแบบละเอียดแต่ถูกอัดเม็ด แล้วไก่กินเข้าไป การย่อยจะเป้นแบบไม่ย่อยเร็วไป คาร์บอน จากคาร์โบไฮเดรต จะรวมตัวกับกรดอมิโน ในการดูดซึมไปใช้งานและนำไปสร้างเป็นโปรตีนได้อย่างพอเหมาะพอดี
ทั้งในด้านการสร้างกล้ามเนื้อและการเจริญนเติบโตในด้านอื่น ๆและโภชนาการทั้ง โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ ที่มีอยู่ในเม็ดอาหาร ที่ค่อนข้างไม่ต่างกันมากในแต่ละเม็ด เมื่อสัตว์กินได้เร็ว และหรือมากในระยะเวลาอันสั้นในแต่ละวัน อัตราการแลกเนื้อ จากการได้รับโภชนาการที่สูง ไก่จะโตเร็วหรืออ้วนเร็ว หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็วมาก ๆ
ไก่ไข่ กับอัตราการให้ไข่ก็เช่นกัน ถ้าเป็นอาหารอัดเม็ดจะส่งผลด้านผลผลิตมากกว่าครับ แต่ก็ต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพหรือโภชนาการอาหารที่เพียงพอเหมาะสมกับความต้องการของไก่
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสารอาหารไก่
โปรตีน
คือสารอาหารที่ถือได้ว่ามีความสำคัญกับไก่ไข่ค่อนข้างมาก เพราะโปรตีนช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต, การผลิตไข่, ช่วยเรื่องภูมิต้านทาน และด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นแล้วโปรตีนจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
แคลเซียม
เปลือกไข่นั้นประกอบด้วยแคลเซียมประมาณ 90% ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งสาเหตุที่แคลเซียมจึงกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในอาหารไก่ไข่ หากว่าแม่ไก่วางไข่วันเว้นวัน แม่ไก่ก็มีความต้องการแคลเซียมมากเพื่อสร้างเปลือกไข่ที่แข็งแรง
ดังนั้นแล้วแคลเซียมยังจำเป็นต่อร่างกายของแม่ไก่มาก ๆ ค่ะ นอกจากนี้แคลเซียมก็ยังมีหน้าที่ช่วยในการทำงานอื่น ๆ มากมาย อย่างเช่นช่วยในเรื่องของกระดูก, ช่วยในการแข็งตัวของเลือด และอื่น ๆ
วิตามิน
ในไก่เองก็ต้องการวิตามิน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะได้แก่ วิตามิน A, E, D3 และวิตามิน B12 บวกด้วยธาตุแร่ธาตุอื่น ๆ อย่างเช่น ฟอสฟอรัสและคอปเปอร์ซัลเฟต
คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตเกือบทั้งหมดที่ไก่ได้รับส่วนใหญ่แล้วจะมาจากธัญพืช เมล็ดพืชเล็ก ๆ ซึ่งก็รวมถึงข้าวโพดและข้าวโอ๊ต คาร์โบไฮเดรตมีบทบาทสำคัญในการให้พลังงาน ให้ความอบอุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอากาศหนาว
อื่น ๆ
สำหรับอาหารบางประเภทอาจจะมีส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา อย่างเช่น โอเมก้า 3 โดยส่วนที่เพิ่มเข้ามานี้จะเพิ่มจำนวนโอเมก้า 3 ของไข่ ทำให้ไข่มีคุณภาพมากขึ้นและมีประโยชน์